“เมอร์ส-โควี”

พิมพ์

                       
                           ไวรัส
เมอร์ส-โควี

   alt
      กำลังเป็นที่
อกสั่นขวัญหายไปทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ กับการแพร่ระบาดของ
  ไวรัส
เมอร์ส-โควี”(MERS-CoV) ที่บางคนเรียกว่าโรค ไข้หวัดอูฐเพราะมีการ
  พบ
เชื้อในอูฐ หรือ โรคปอดบวมตะวันออกกลางตามอาการและพื้นที่พบเชื้อ
  เพราะจากเดิมที่โรคนี้เป็น
โรคเฉพาะถิ่นที่มักพบได้ในภูมิภาคตะวันออกกลาง
  แต่เมื่อ
20 พ.ค. 2558 ที่ผ่านมามีการยืนยันว่าพบผู้ป่วยที่ เกาหลีใต้และ
  หลังจากนั้นก็มีชาวเกาหลีติดเชื้อไปแล้วกว่า
60 ราย และบางรายอาการรุนแรง
  ถึงขั้นเสียชีวิต เชื้อนี้แพร่กระจายได้จาก
คนสู่คน”!!!   ความน่าสะพรึงกลัวของ
  ไวรัสเมอร์ส -โควี คือเป็นเชื้อที่
ไม่มีวัคซีน-ไม่มียาต้านการรักษาทำได้แต่เพียง
  ประคับประคองตามอาการเท่านั้น  เพราะแม้จะเป็นเชื้อร้ายที่ไม่มียารักษาแบบตรงๆ
  แต่อีกด้านหนึ่ง เชื้อนี้ก็ไม่ได้ทำอันตรายกับใครได้ง่ายนัก

ประการแรก..กลุ่มเสี่ยงจริงๆ คือบรรดา ผู้สูงวัยเพราะจากสถิติที่พบ
  ผู้ป่วยที่เสียชีวิตมักจะเป็น  ผู้ที่มีอายุมากเสียหน่อย เมื่อเทียบกับวัยเด็กและวัยหนุ่ม
  สาวที่รับเชื้อ โอกาสเสียชีวิตจะน้อยกว่ามาก เพราะภูมิต้านทานจะแข็งแรงกว่า และ
           ประการที่สอง..แม้จะแพร่จากคนสู่คนได้  แต่ยังไม่มีรายงานว่าเชื้อนี้
  สามารถติดต่อทางอากาศ   ผู้ป่วยรายที่ผ่านๆ มา  พบว่าติดเชื้อจากการสัมผัส
  ละอองของเหลว  จากร่างกายของผู้ป่วยโดยตรงทั้งสิ้น
  

กลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง   ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ  ได้แก่  
  ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน    โรคปอดเรื้อรัง    โรคไตวาย   ขอให้หลีกเลี่ยง
  การเที่ยวชมฟาร์ม  พื้นที่โรงเก็บผลผลิตทางการเกษตร และตลาดที่มี
  อูฐอยู่ แต่หากจำเป็นต้องเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว  ขอให้หลีกเลี่ยงการ
  สัมผัสอูฐ  ตลอดจนหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำนมดิบจากอูฐ
ที่ยังไม่ผ่านการ
  ฆ่าเชื้อ รวมทั้งการกินอาหารที่ไม่สะอาดหรื
อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านการล้าง
  ปอกเปลือก หรือปรุงให้สุก
เนื่องจากอาจมีการปนเปื้อนสารคัด
หลั่งของ
  สัตว์ได้
                                                  
             สำหรับการป้องกันและลดโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อ  ผู้เชี่ยวชาญ
  ด้านโรคระบาด ระบุว่า สำหรับผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด  เช่น               ภูมิภาค  ตะวันออกกลางหรือประเ
altทศ
  เกาหลีใต้  เมื่
อกลับมาไทย ควรรีบไปพบ
  แพทย์    เพื่อตรวจว่าได้รับเชื้อมาหรือไม่     
  เพื่อที่หาก  ติดเชื้อจะได้ทำการรักษาได้
  ทันท่วงที

     อนึ่ง..ระยะฟักตัวของเชื้อเมอร์ส - โควี
  อยู่ที่ราว
14 วัน    ขณะที่ข้อปฏิบัติของผู้ที่
  ต้องเดินทางเข้าไปยังพื้นที่เสี่ยง  เช่น  
  อย่าเข้าใกล้ผู้มี อาการต้องสงสัย  หรือเข้าไปยังจุดที่มีการระบาดรุนแรง เป็นต้น

        วิธีการป้องกันพื้นฐานที่คุ้นเคยกันดี  เช่น  การสวมหน้ากากอนามัย  
และการล้างมือก่อน
รับประทานอาหาร ก็ช่วยลดการแพร่เชื้อได้มากแล้ว
       
ขอแนะนำ  ให้ประชาชนที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปตะวันออกกลาง
 ปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขงดสัมผัสกับอูฐ  หรือดื่ม
นมอูฐดิบ
  ล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ  และหากเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว  ภายใน
14 วัน
  พบมีอาการป่วย คือ  มีไข้  ไอ  มีน้ำมูก  เจ็บคอ  ให้ใส่หน้ากากอนามัยและ
  ขอให้รีบพบแพทย์ แจ้งประวัติการเดินทางไปต่างประเทศทันที 
alt  เนื่องจาก
   แหล่งแพร่เชื้อไวรัสนี้อยู่ในประเทศ
   ตะวันออกกลางเป็นหลัก

       อธิบดีกรมควบคุมโรคย้ำ
พร้อมกับ
  บอกว่า เบื้องต้นประเทศไทยจะนำเอางบ
  ประมาณ และมาตรการเฝ้าระวังป้องกัน
  โรคติดเชื้ออีโบลามาใช้ในการป้องกันโรค
   เมิร์ส - โควีก่อน  
  
    หากประชาชนมีข้อสงสัย โทร.สอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค
1422             ตลอด 24 ชั่วโมง.